โรคสมาธิสั้น

featured image

โรคสมาธิสั้น ในเด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 15 ปีป่วยเป็นโรคนี้ถึง 420,000 คนพ บในเด็กผู้ชายสูงกว่าเด็กผู้หญิง 4-6 เท่า และมีเพียง 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถ รักษา หายขาดด้วยตัวเอง แพทย์เตือนเล่นสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตเสียงเด็ก เป็นโรคสมาธิสั้นสูง มีงานวิจัยและมีการพูดถึงของกุมารแพทย์เป็นจำนวนมากถึงพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ยิ่งใช้มากเสี่ยงการเป็นโรคขาดสมาธิการควบคุมตัวเองและนำไปสู่ความรุนแรง เช่นใจร้อน อารมณ์ฉุนเฉียวและไม่รู้จักการรอคอย มากไปกว่านั้นการเล่นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นเวลานานส่งผลให้เด็กบุคลิกภาพไม่ดี พูดช้าพัฒนาการ ไม่เหมาะสมกับอายุดังนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครองควรหากิจกรรมอื่นสอดแทรกเข้าไป เช่นการเล่นกีฬา การเล่นดนตรี

โรคสมาธิสั้น หรือ adhd Attention deficit hyperactivity disorder ภาวะการผิดปกติทางจิต ส่งผลถึงการควบคุมและเคลื่อนไหวเช่นการไม่ตั้งใจฟังหรือจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ขาดความรับผิดชอบ มักพบได้ในเด็กอายุระหว่าง 3 ถึง 7 ปี แต่จะแสดงออกชัดเจนในช่วงหลัง 7 ปีขึ้นไป และมีเพียง 15 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถหายขาดได้เองเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และอีกกว่า 60% ไม่สามารถหายขาดได้

เราสามารถสังเกตอาการได้ดังต่อไปนี้

  1. หลงลืมกิจวัตรประจำวัน
  2. มักทำของหายเช่นอุปกรณ์การเรียนทำงานไม่เป็นระเบียบ ทำงานบ้านหรือการบ้านไม่ครบตามคำสั่งไม่มีสมาธิในการเรียนหรือการเล่น ไม่จดจ่อกับรายละเอียดหรือดูเหมือนไม่ฟังขณะที่กำลังมีคนพูดด้วย โดยพ่อแม่หรือผู้ปกครองสามารถสังเกตได้ จากพฤติกรรมการเล่นของเด็ก หากเด็กเข้าโรงเรียนแล้วให้คุณครูช่วย ดูพฤติกรรมของเด็กให้เป็นพิเศษจะช่วยให้เราทราบถึงปัญหาของเด็ก

สัญญาณเตือนที่มักจะพบได้ คือ

  • มีผลการเรียนตกต่ำ
  • เริ่มแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวไม่ชอบสื่อสารพูดคุยหรือเข้าสังคมหรือไม่ชอบการมีเพื่อน
  • มีอาการบาดเจ็บจากการเล่นรุนแรง
  • ไม่จดจ่อกับสิ่งที่ทำหรือไม่ค่อยสนใจสิ่งที่คนอื่นพูด ด้วย

วิธีการแก้ไขรักษาโรค

  1. ให้ปรึกษาแพทย์และรับรู้ถึงความเข้าใจในการดูแลเด็กที่มีโรคดังกล่าว เพื่อลดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กและเพื่อดูแลเด็กอย่างถูกต้อง
  2. การรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยยานั้นแพทย์จะเลือกจัดสรรให้เหมาะกับระดับโลกของเด็กที่เป็น
  3. เสริมการเรียนรู้มากกว่าการเรียนเรียนในห้อง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิชาการหรือด้าน ความบันเทิงเช่นกีฬาหรือดนตรีรวมไปถึงการวาดภาพเลือกตามความเหมาะสมของเด็ก

เมื่อทราบว่าลูกของเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น อย่าเพิ่งตื่นกลัวหรือตกใจแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดและให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ ลูก อย่าใจร้อนให้เข้าใจเขาให้มากและให้เชื่อมั่นว่าโรคนี้มีโอกาสหายได้ ไม่ใช่เฉพาะความร่วมมือของเด็กอย่างเดียวเท่านั้นแต่เป็นการร่วมมือของผู้ปกครองด้วยเช่นกัน